วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ E-Library


ความหมายของของ E-Library
E-library มาจากคำว่า Electronic Library หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-Library หรือ Virtual Library มีความหมายเดียวกัน คือ ความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทำให้การเข้าถึงสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดจะทำที่ใดก็ได้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ การอ่านสารสนเทศที่ต้องการ ตลอดจนการยืม-คืนสารสนเทศที่ต้องการ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัย/ห้องสมุดเป็นจำนวนมากมีความพยายามในการแปลงองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปของ e-Book เช่น วิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ของนิสิต/นักศึกษา งานวิจัยและผลงานทางวิชาการของอาจารย์และบุคลากร รวมทั้งเอกสารทุกชนิดที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมาของ E-library
ห้องสมุดเป็นแหล่งสำคัญของชาติในการถ่ายทอดความรู้ ตามประกาศองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ ใน “กฎบัตรว่าด้วยหนังสือ” ตั้งแต่ปี 1972 มาจนถึงปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ยังคงยึดมั่นในหลักการดังกล่าว ห้องสมุดจึงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ กอปรกับสภาพสังคมที่ให้ความสำคัญกับฐานความรู้ห้องสมุดจึงมีขอบข่ายให้บริการกว้างขวางมากขึ้น และถูกเรียกขานด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น ศูนย์ข้อมูลการศึกษา ศูนย์เอกสาร และศูนย์วิทยบริการ ห้องสมุดเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่จัดเก็บรวบรวมสารสนเทศ และอารยธรรมของมนุษยศาสตร์ในทุกยุคทุกสมัย ระบบและวิธีการจัดเก็บหนังสือและสารสนเทศในห้องสมุดยุคเดิมที่จัดจำแนกประเภทหนังสือและให้บริการต่าง ๆ ในระบบมือทั้งหมดนั้น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้สารสนเทศของผู้บริการในโลกยุคข้อมูลข่าวสารได้ครบถ้วน ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบระบบและวิธีการจัดเก็บเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยการนเทคโนโลยีสารสนเทศ อันได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บค้นหาสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ใช้ในการเชื่อมโยงผู้ใช้กับการฐานข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งภายในห้องสมุดเอง ภายในสถาบัน ระหว่างสถาบัน และระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

วัตถุประสงค์ของ E-library
1. เพื่อรวบรวมศาสนศาสตร์สารนิเทศ หรือหนังสือในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลให้กับอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกใน
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบัน
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ทที่เปิดสอนของสถาบัน
5. เพื่อพัฒนาศาสนศาสตร์สารนิเทศให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี
6. เพื่อสงวนและรักษาศาสนศาสตร์สารนิเทศของสถาบันให้มีคุณภาพใช้งานที่ยาวนาน
7. เพื่อให้เกิดการเขียนและจัดทำตำราได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องมีปัญหาในเรื่องสำนักพิมพ์ และค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์

ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
1.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

เป้าหมายของ E-library
เป็นการประยุกต์ใช้ E-Library เพื่อการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย

1. คณาจารย์
2. นักศึกษา
3. ศิษย์เก่า ผู้รับใช้ หรือบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

ข้อดี - ข้อเสีย ของ E-library
ข้อดี
1. ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการนั่นคือการประหยัดค่าทำอาร์ตเวิร์ค การจัดหน้าไปจนกระทั่งถึง ค่ากระดาษที่ต้องพิมพ์ออกมา

2. สามารถอยู่ทนทานได้เป็นระยะเวลานาน
3. ไม่ต้องสต็อคของไว้เป็นจำนวนมากๆ
4. สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากมาย
5. สามารถเพิ่มพูนลูกเล่นจากภาพมัลติมีเดีย และเสียง
ข้อเสีย

1. การอ่านที่ยุ่งยากต้องอ่านจากคอมพิวเตอร์ หรือ Palm
2. ต้องอาศัยระบบเครือข่าย
3. การละเมิดลิขสิทธิ์
4. ผู้ใช้จะต้องมีอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต
5. ผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

วิเคราะห์เหตุที่มี E-library เกิดขึ้น สอดคล้องกับสังสมปัจจุบันอย่างไร
จะเห็นว่าปัจจุบันนี้โลกแคบไปมาก ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก สังคมก็เป็นสังคมฐานความรู้ คนที่มีความรู้ดี มีความรู้ทันสมัยก็จะได้เปรียบ จะทำอะไรก็ต้องทำด้วยการอาศัยหลักวิชา ฉะนั้นการหาความรู้อยู่เสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็น การรู้วิธีหาความรู้จึงเป็นเรื่องที่ต้องสอนให้กับนักเรียนทุกคน การสอนวิธีหาความรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญกว่าการสอนความรู้สำหรับโลกอนาคต เพราะเนื้อหาสาระความรู้จะเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ฉะนั้นในการสอนจะต้องสอนให้รู้วิธีหาความรู้ สอนให้รักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ฉะนั้นเครื่องมือในการหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับเด็กก็ ได้แก่ ความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อหาความรู้ นอกจากนั้นเวลาไปไหนก็มักจะต้องพบกับเทคโนโลยี ผู้ใหญ่หลายคนไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมกดปุ่มมากข้น คนใช้เทคโนโลยีไม่เป็นก็รู้สึกว่าจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมลำบาก เริ่มตั้งแต่การใช้โทรศัพท์จะต้องรู้ว่าสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง บางคนซื้อโทรศัพท์มาอย่างดีแต่ใช้ได้แค่โทรออกกับรับเท่านั้น เปิดรับข้อความ ส่งข้อความ บันทึกข้อความ หรืออื่น ๆ ทำไม่เป็นเลย ยิ่งถ้าไปต่างประเทศจะเห็นชัดว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีสำหรับชีวิตประจำวันเป็น ขึ้นรถเมล์ รถใต้ดิน เข้าสวนสนุก และอะไร ๆ ก็ต้องเสียบการ์ด หยอดเหรียญทั้งนั้น คนไม่รู้ก็อยู่ลำบาก ฉะนั้นในการจัดการศึกษาเพื่อสังคมโลกอนาคตจะต้องสอนให้รู้วิธีหาความรู้ และมีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น