วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์แผนการเรียนรู้

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง แร่และหิน เวลา 5 ชั่วโมง


จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองและอธิบายกระบวนการเกิดหินและสมบัติบางประการของหิน
2. ระบุชนิดของหินในท้องถิ่น

3. อธิบายและยกตัวอย่างประโยชน์ของหินชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหินในท้องถิ่น
4. เสนอแนะการจัดการ การใช้ประโยชน์จากหินอย่างคุ้มค่า

แนวความคิดหลัก
หินมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีกระบวนการเกิด มีลักษณะและองค์ประกอบแตกต่างกัน หินอัคนีเป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกของแร่และการเย็นตัวแข็งของแมกมา แบ่งเป็นหินอัคนีแทรกซอนมีเนื้อหยาบ และหินอัคนีผุ กร่อน พัดพา กดทับ และเชื่อมประสาน หินตะกอนจึงมีลักษณะเป็นเนื้อผสมแยกกันเห็นชัด ยกเว้นหินตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวทางเคมีของซากพืช ซากสัตว์ในทะเล จะมีเนื้อละเอียดเนียน เช่น หินปูน หินแปรเป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพจากหินเดิมภายใต้อิทธิพลของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมีในสภาพแวดล้อมต่างๆ กันด้วยกระบวนการแปรสภาพ หินแปรจึงมีลักษณะที่เหมือนถูกกดทับ มีการเรียงตัวของแร่เป็นชั้นบ้าง หรือถูกแปรสภาพเป็นแร่ใหม่ในเนื้อหินบ้างเป็นต้น
การนำหินไปใช้ประโยชน์ขึ้นอยู่กับลักษณะและองค์ประกอบของเนื้อหินเช่น ใช้ในการก่อสร้างใช้ในการประดับตกแต่ง ใช้ปูพื้นทางเดิน ใช้บุผนัง

กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดหินแต่ละประเภท แล้วสรุปประเด็นสำคัญปฏิบัติการทดลอง
2. จำลองการเกิดหินอัคนี โดยใช้สรละลายสารส้มที่อิ่มตัว แล้วปล่อยให้ตกผลึกอย่างช้า ๆ และรวดเร็ว เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น สังเกตและบันทึกรูปร่างผลึกของสารส้ม ที่ได้ลงในใบกิจกรรม

3. ปฏิบัติการทดลอง จำลองการเกิดของหินตะกอนโดยวิธีต่าง ๆ คือ
3.1 การสาธิตจากแบบจำลองเพื่อแสดงถึงการพัดพา การสะสม การทับถมตะกอน

3.2 ทดลองจำลองการแข็งตัวของตะกอนที่ถูกสะสมทับถม โดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อมประสาน
3.3 สังเกตลักษณะการสะสมทับถมตะกอน และการแข็งตัวของตะกอน แล้วบันทึกลงในใบกิจกรรม
4. ปฏิบัติการทดลอง จำลองการเกิดของหินแปร โดยใช้ดินน้ำมันเป็นก้อนกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใช้คลิปหนีบกระดาษกดลงในก้อนดินน้ำมันทุกทิศทางโดยรอบ แล้วออกแรงกดทับด้วยของหนักบนพื้นโต๊ะ สังเกตก้อนดินน้ำมันและคลิปหนีบกระดาษ เปรียบเทียบกันระหว่างก่อนและหลังการกดทับ บันทึกผลลงในใบกิจกรรม

5. นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลการทดลอง และร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่างๆ แล้วสรุปประเด็นในการอภิปราย
- กระบวนการเกิดของหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร
- กระบวนการเกิดของหินแต่ละชนิด ทำให้หินมีลักษณะต่างกัน
- การเกิดหินแต่ละประเภท มีกระบวนการเกิดที่แตกต่างกันอย่างไร
- เนื้อหินแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไร
- ประเด็นอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ
6. ศึกษาหินตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ
6.1 สำรวจ ตรวจสอบ สังเกต บันทึกลักษณะของหินตัวอย่างด้วยตาเปล่า และจัดประเภทของหิน โดยใช้เกณฑ์ที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบหินแต่ละก้อน แล้วบันทึกผล
6.2 นักเรียนสำรวจตรวจสอบ สังเกต บันทึกลักษณะของหินตัวอย่างเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้แว่นขยาย และนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติมเอกสารมาสรุปลงความเห็นจัดจำแนกประเภทของหินอีกครั้งหนึ่ง
6.3 เปรียบเทียบกับการจำแนกหินเป็นกลุ่มด้วยตาเปล่ากับเมื่อใช้แว่นขยาย เหมือนหรือต่างอย่างไรเพราะเหตุใด
7. สำรวจแหล่งหินในท้องถิ่นหรือบริเวณใกล้เคียง โดยจัดเป็นกิจกรรมค่ายศึกษาธรณีวิทยาในท้องถิ่น


การเตรียมตัวล่วงหน้าของครู
- เตรียมสำรวจบริเวณที่จะศึกษาล่วงหน้า และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของหินทั้งจากเอกสาร ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาและหน่วยงานทางธรณีวิทยาในท้องถิ่น คือ กรมทรัพยากรธรณี หรือทรัพยากรธรณีเขต หรือทรัพยากรธรณีจังหวัด
- เตรียมวิทยากร
- จัดแบ่งบริเวณที่จะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาและทำกิจกรรม
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการศึกษาภาคสนาม ได้แก่ แผนที่ในการเดินทาง แผนที่ธรณีวิทยา แว่นขยาย ค้อนธรณีหรือค้อนปอนด์ และเอกสารประกอบการค้นคว้า
- เตรียมตัวนักเรียน โดยแนะนำเกี่ยวกับการแต่งกายของนักเรียน ได้แก่ กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว หมวก ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบ เป็นต้น


กิจกรรมของนักเรียน
- นักเรียนสำรวจและศึกษาแหล่งหินในภาคสนาม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ศึกษาที่ละแหล่งจนครบทั้งบริเวณ บันทึกรายละเอียด การสังเกต การวิเคราะห์ อภิปราย และลงความเห็นภายในกลุ่มลงในใบกิจกรรม
- นักเรียนนำเสนอผลการศึกษาหินแต่ละแห่ง และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งหินและลักษณะของหินแต่ละบริเวณ
- นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้เรื่องหินในท้องถิ่นจากการศึกษาภาคสนาม
- นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหินประเภทต่างๆ และการใช้หินในท้องถิ่น แล้วสรุปผลนักเรียนรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ และความประทับใจที่ได้จากการศึกษาภาคสนามบันทึกลงในใบกิจกรรม


กระบวนการวัดและประเมินผล
1. สังเกตการณ์ปฏิบัติทั้งในห้องทดลองและทำกิจกรรมภาคสนาม ซึ่งประเมินกระบวนการทำกิจกรรม การนำเสนอผลการทำกิจกรรม การอภิปรายแสดงความคิดเห็น การสรุปความรู้
2. ประเมินความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม
3. ให้นักเรียนประเมินตนเองและประเมินผลของเพื่อนกลุ่มต่าง ๆ
4. ประเมินเจตคติ คุณธรรม ค่านิยม ที่นักเรียนแสดงออกให้เห็นตลอดกระบวนการเรียน


แหล่งการเรียนรู้
1. สวนธรณีในท้องถิ่น
2. แหล่งหินในท้องถิ่น

3. ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีในท้องถิ่น
4. หน่วยงานด้านธรณีในท้องถิ่น
5. เอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหิน
6. เว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น

http://www.kids.eart.nasa.gov/
http://www.observe.arc.nasa.gov/nasa/core.shtml.html
http://www.soest.hawaii.edu/

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ E-Library


ความหมายของของ E-Library
E-library มาจากคำว่า Electronic Library หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-Library หรือ Virtual Library มีความหมายเดียวกัน คือ ความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทำให้การเข้าถึงสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดจะทำที่ใดก็ได้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ การอ่านสารสนเทศที่ต้องการ ตลอดจนการยืม-คืนสารสนเทศที่ต้องการ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัย/ห้องสมุดเป็นจำนวนมากมีความพยายามในการแปลงองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปของ e-Book เช่น วิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ของนิสิต/นักศึกษา งานวิจัยและผลงานทางวิชาการของอาจารย์และบุคลากร รวมทั้งเอกสารทุกชนิดที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมาของ E-library
ห้องสมุดเป็นแหล่งสำคัญของชาติในการถ่ายทอดความรู้ ตามประกาศองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ ใน “กฎบัตรว่าด้วยหนังสือ” ตั้งแต่ปี 1972 มาจนถึงปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ยังคงยึดมั่นในหลักการดังกล่าว ห้องสมุดจึงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ กอปรกับสภาพสังคมที่ให้ความสำคัญกับฐานความรู้ห้องสมุดจึงมีขอบข่ายให้บริการกว้างขวางมากขึ้น และถูกเรียกขานด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น ศูนย์ข้อมูลการศึกษา ศูนย์เอกสาร และศูนย์วิทยบริการ ห้องสมุดเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่จัดเก็บรวบรวมสารสนเทศ และอารยธรรมของมนุษยศาสตร์ในทุกยุคทุกสมัย ระบบและวิธีการจัดเก็บหนังสือและสารสนเทศในห้องสมุดยุคเดิมที่จัดจำแนกประเภทหนังสือและให้บริการต่าง ๆ ในระบบมือทั้งหมดนั้น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้สารสนเทศของผู้บริการในโลกยุคข้อมูลข่าวสารได้ครบถ้วน ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบระบบและวิธีการจัดเก็บเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยการนเทคโนโลยีสารสนเทศ อันได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บค้นหาสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ใช้ในการเชื่อมโยงผู้ใช้กับการฐานข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งภายในห้องสมุดเอง ภายในสถาบัน ระหว่างสถาบัน และระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

วัตถุประสงค์ของ E-library
1. เพื่อรวบรวมศาสนศาสตร์สารนิเทศ หรือหนังสือในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลให้กับอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกใน
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบัน
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ทที่เปิดสอนของสถาบัน
5. เพื่อพัฒนาศาสนศาสตร์สารนิเทศให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี
6. เพื่อสงวนและรักษาศาสนศาสตร์สารนิเทศของสถาบันให้มีคุณภาพใช้งานที่ยาวนาน
7. เพื่อให้เกิดการเขียนและจัดทำตำราได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องมีปัญหาในเรื่องสำนักพิมพ์ และค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์

ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
1.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

เป้าหมายของ E-library
เป็นการประยุกต์ใช้ E-Library เพื่อการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย

1. คณาจารย์
2. นักศึกษา
3. ศิษย์เก่า ผู้รับใช้ หรือบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

ข้อดี - ข้อเสีย ของ E-library
ข้อดี
1. ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการนั่นคือการประหยัดค่าทำอาร์ตเวิร์ค การจัดหน้าไปจนกระทั่งถึง ค่ากระดาษที่ต้องพิมพ์ออกมา

2. สามารถอยู่ทนทานได้เป็นระยะเวลานาน
3. ไม่ต้องสต็อคของไว้เป็นจำนวนมากๆ
4. สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากมาย
5. สามารถเพิ่มพูนลูกเล่นจากภาพมัลติมีเดีย และเสียง
ข้อเสีย

1. การอ่านที่ยุ่งยากต้องอ่านจากคอมพิวเตอร์ หรือ Palm
2. ต้องอาศัยระบบเครือข่าย
3. การละเมิดลิขสิทธิ์
4. ผู้ใช้จะต้องมีอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต
5. ผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

วิเคราะห์เหตุที่มี E-library เกิดขึ้น สอดคล้องกับสังสมปัจจุบันอย่างไร
จะเห็นว่าปัจจุบันนี้โลกแคบไปมาก ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก สังคมก็เป็นสังคมฐานความรู้ คนที่มีความรู้ดี มีความรู้ทันสมัยก็จะได้เปรียบ จะทำอะไรก็ต้องทำด้วยการอาศัยหลักวิชา ฉะนั้นการหาความรู้อยู่เสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็น การรู้วิธีหาความรู้จึงเป็นเรื่องที่ต้องสอนให้กับนักเรียนทุกคน การสอนวิธีหาความรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญกว่าการสอนความรู้สำหรับโลกอนาคต เพราะเนื้อหาสาระความรู้จะเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ฉะนั้นในการสอนจะต้องสอนให้รู้วิธีหาความรู้ สอนให้รักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ฉะนั้นเครื่องมือในการหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับเด็กก็ ได้แก่ ความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อหาความรู้ นอกจากนั้นเวลาไปไหนก็มักจะต้องพบกับเทคโนโลยี ผู้ใหญ่หลายคนไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมกดปุ่มมากข้น คนใช้เทคโนโลยีไม่เป็นก็รู้สึกว่าจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมลำบาก เริ่มตั้งแต่การใช้โทรศัพท์จะต้องรู้ว่าสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง บางคนซื้อโทรศัพท์มาอย่างดีแต่ใช้ได้แค่โทรออกกับรับเท่านั้น เปิดรับข้อความ ส่งข้อความ บันทึกข้อความ หรืออื่น ๆ ทำไม่เป็นเลย ยิ่งถ้าไปต่างประเทศจะเห็นชัดว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีสำหรับชีวิตประจำวันเป็น ขึ้นรถเมล์ รถใต้ดิน เข้าสวนสนุก และอะไร ๆ ก็ต้องเสียบการ์ด หยอดเหรียญทั้งนั้น คนไม่รู้ก็อยู่ลำบาก ฉะนั้นในการจัดการศึกษาเพื่อสังคมโลกอนาคตจะต้องสอนให้รู้วิธีหาความรู้ และมีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์













นวัตกรรมทางการศึกษา


1.ชื่อ นวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา เมื่อใด
นวัตกรรม Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption) ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

1.สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2.สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3.สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
ประเภทนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา
2.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
3.นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
4.นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการประเมินผล
5.นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา
6.นวัตกรรมด้านการประเมินผล
ผู้พัฒนา
ผู้ที่พัฒนานวัตกรรมต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R)

2.ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1.เพื่อพัฒนานวัตกรรมในด้านการเรียนการสอน

1.1 การระบุปัญหา
1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.3 การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ
1.4 การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม
1.5 การทดลองใช้
1.6 การเผยแพร่
1.7 การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น

3.ขั้นตอนการพัฒนา
1.ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม
2.กำหนดประเด็นหรือหัวข้อที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
3.ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย
3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม
3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัยหรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน
4.สังเคราะห์ข้อความรู้ ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม
5.ออกแบบนวัตกรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น
6.กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กร วิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
7.กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง
8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7
9.ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย
10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม

4.ลักษณะของนวัตกรรม
1.เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2.สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้น มาใหม่
3.สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
4.เป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการทดลอง

5.ผลการนำไปทดลองใช้
ผลการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ในการศึกษานั้นเป็นการนำเอานวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อยและมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา เนื้อหา และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา ว่าต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เช่น ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ หรือ เวลาที่ใช้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างต้องระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน ระดับชั้นใด โรงเรียนไหน จำนวนเท่าใด เครื่องมือที่ใช้วัดได้แก่ แบบทดสอบ แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ และกำหนดแนวทาง สรุปผลการทดลองใช้

6.ความคิดเห็นของผู้รายงาน
ข้อดีเด่นของนวัตกรรม
ปัจจุบันนี้ถือว่านวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการพัฒนาในการเรียนการสอนและผลสำริดที่ดีต่อผู้เรียนและผู้สอน ทำให้มีพัฒนาการใหม่เกิดขึ้นในหลายๆ เรื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาไปทั้งในสถานศึกษาและนำไปสู่การพัฒนาประเทศอีกด้วย
ข้อจำกัดของนวัตกรรม
1.ข้อจำกัดทางด้านบุคลาการ ซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ที่ดีพอ หรือไม่เข้าใจกระบวนการในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะไม่มีความรู้ดีพอ หรือไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่
2.ความจำกัดทางด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์
3.การขาดการสนับสนุนที่เพียงพอจากสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน
นวัตกรรมเป็นทรัพยากรที่มีคูณค่ามหาศาล เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด นำไปใช้ในการพัฒนาระบบของการศึกษา เพราะระบบการศึกษาจะช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนา และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นนวัตกรรมเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่พัฒนาระบบการศึกษา แต่ยังครอบคลุมทุกหน่อยงานในสังคม ดังนั้นเราต้องตระหนักถึงคุณค่าของนวัตกรรมเทคโนโลยีให้มากที่สุดและใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธี

จุดเริ่มต้นของการศึกษาไทย


การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาไทย ดังนี้

1.การศึกษาของไทยสมัยโบราณ ( พ.ศ.1781 - พ.ศ.2411)

การศึกษาสมัยนี้เป็นการศึกษาแบบสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่มีมากแต่เดิม จำเป็นที่คนไทยในสมัยนั้นต้องขวนขวายหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชนต่างๆ ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เช่น บ้านเป็นสถานที่อบรมกล่อมเกลาจิตใจของสมาชิกภายในบ้าน โดยมีพ่อและแม่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดอาชีพและอบรมลูกๆ วังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆ มาเป็นขุนนางรับใช้เบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะงานช่างศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างพระราชวังและประกอบพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ชายไทยมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและบวชเรียน ในสังคมไทยจึงนิยมให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่

1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781 พ.ศ.1921) มีลักษณะการจัด ดังนี้

1.รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่าย อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย กระบี่ กระบองและอาวุธต่างๆ ตลอดจนวิธีการบังคับม้า ช้าง ตำราพิชัยยุทธ์ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง และส่วนที่สอง พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ เวชกรรม ฯลฯ ส่วนพลเรือนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย กิริยามารยาท การทำอาหารการกินเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีต่อไป งานทำให้มีคุณธรรมและจิตใจมั่นคงสามารถครองเรือนได้อย่างมีความสุข

2.สถานศึกษา สำหรับสถานศึกษาในสมัยนี้ ประกอบด้วย

(1)บ้าน เป็นสถาบันสังคมพื้นฐานที่ช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพตามบรรพบุรุษ การก่อสร้างบ้านเรือนศิลปการป้องกันตัวสำหรับลูกผู้ชายและการบ้านการเรือน เช่น การจีบพลู การทำอาหารและการทอผ้าสำหรับลูกผู้หญิง เป็นต้น

(2)สำนักสงฆ์ เป็นสถานศึกษาที่สำคัญของราษฎรทั่วไป เพื่อหน้าที่ขัดเกลาจิตใจ และแสวงหาธรรมะต่างๆ

(3)สำนักราชบัณฑิต เป็นบ้านของบุคคลที่ประชาชนยกย่องว่ามีความรู้สูง บางคนก็เป็นขุนนางมียศถาบรรดาศักดิ์ บางคนก็เคยบวชเรียนแล้วจึงมีความรู้ แตกฉานในแขนงต่างๆ

(4)พระราชสำนัก เป็นสถานศึกษาของพระราชวงศ์และบุตรหลานของขุนนางในราชสำนักมีพราหมณ์หรือราชบัณฑิตเป็นครูสอน

3.วิชาที่สอน ไม่ได้กำหนดตายตัว พอแบ่งออกได้ ดังนี้

(1)วิชาความรู้สามัญ สันนิษฐานว่าในช่วงต้นสุโขทัยใช้ภาษาบาลี และสันสกฤตในการศึกษา ต่อมาในสมัยหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ.1826 จึงมีการเรียนภาษาไทยกัน

(2)วิชาชีพ เรียนกันตามแบบอย่างบรรพบุรุษ ตระกูลใดมีความชำนาญด้านใดลูกหลานจะมีความถนัดและประกอบอาชีพตามแบบอย่างกันมา เช่น ตระกูลใดเป็นแพทย์ก็จะสอนบุตรหลานให้เป็นแพทย์

(3)วิชาจริยศึกษา สอนให้เคารพนับถือบรรพบุรุษ การรู้จักกตัญญูรู้คุณการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม และการรู้จักทำบุญให้ทาน ถือศีลในระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น

(4)วิชาศิลปะป้องกันตัว เป็นการสอนให้รู้จักการใช้อาวุธ การบังคับสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกศึกและตำราพิชัยยุทธ

1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893 - พ.ศ.2310)

กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี ซึ่งมีความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเกิดจากมีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากินในดินแดนไทย เช่น จีน มอญ ญวน เขมร อินเดียและอาหรับ และตั้งแต่รัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ชาติตะวันตกได้เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาเป็นชาติแรก และมีชนชาติอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น มีผลให้การศึกษาไทยมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ลักษณะการจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้

1.รูปแบบการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1)การศึกษาวิชาสามัญ เน้นการอ่าน เขียน เรียนเลข อันเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการประกอบสัมมาอาชีพของคนไทย พระโหราธิบดีได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย ชื่อ จินดามณี ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งใช้เป็นแบบเรียนสืบมาเป็นเวลานาน

(2)การศึกษาทางด้านศาสนา วัดยังมีบทบาทมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงส่งเสริมพุทธศาสนาโดยทรงวางกฎเกณฑ์ไว้ว่าประชาชนคนใดไม่เคยบวชเรียนเขียนอ่านมาก่อน จะไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการและในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา มีนักสอนศาสนาหรือมิชชันนารีได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและวิชาอื่น ๆ ขึ้นเรียกโรงเรียนมิชชันนารีนี้ว่า โรงเรียนสามเณร เพื่อชักจูงให้ชาวไทยหันไปนับถือศาสนาคริสต์

(3)การศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์และวรรณคดี ปรากฏว่ามีการสอนทั้งภาษาไทยบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และภาษาจีน ในรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชมีวรรณคดีหลายเล่ม เช่น เสือโคคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำฉันท์ และกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

(4)การศึกษาของผู้หญิง มีการเรียนวิชาชีพ การเรือนการครัว ทอผ้า ตลอดจนกิริยามารยาท เพื่อป้องกันไม่ให้เขียนเพลงยาวโต้ตอบกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงที่อยู่ใน ราชตระกูลเริ่มเรียนภาษาไทยตลอดทั้งการประพันธ์ด้วย ในสมัยนี้โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่นำวิธีการทำขนมหวานที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนผสม เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง มาเผยแพร่จนขนมเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ขนมหวานของไทยในปัจจุบัน

(5)การศึกษาวิชาการด้านทหาร มีการจัดระเบียบการปกครองในแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกัน หัวหน้าฝ่ายทหารเรียกว่า สมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนเรียกว่า สมุหนายก ในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงจัดวางระเบียบทางด้านการทหาร มีการทำบัญชี คือ การเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร ผู้ชายอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปถึง 60 ปี เรียกว่าไพร่หลวง เชื่อว่าต้องมีการศึกษาวิชาการทหาร เป็นการศึกษาด้านพลศึกษาสำหรับผู้ชาย ฝึกระเบียบวินัยเพื่อฝึกอบรมให้เป็นกำลังสำคัญของชาติ

2.สถานศึกษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ยังคงเหมือนกับสมัยสุโขทัยที่ต่างออกไป คือ มีโรงเรียนมิชชันนารี เป็นโรงเรียนที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างเพื่อเผยแพร่ศาสนาและขณะ เดียวกันก็สอนวิชาสามัญด้วย 3 เนื้อหาวิชาที่สอน มีสอนทั้งวิชาชีพและวิชาสามัญ กล่าวคือ

(1)วิชาสามัญ มีการเรียนวิชาการอ่าน เขียนเลข ใช้แบบเรียนภาษาไทยจินดามณี

(2)วิชาชีพ เรียนรู้กันในวงศ์ตระกูล สำหรับเด็กผู้ชายได้เรียนวิชาวาดเขียน แกะสลัก และช่างฝีมือต่าง ๆ ที่พระสงฆ์เป็นผู้สอนให้ ส่วนเด็กผู้หญิงเรียนรู้การบ้านการเรือนจากพ่อแม่สมัยต่อมาหลังชาติตะวันตกเข้ามาแล้วมีการเรียนวิชาชีพชั้นสูงด้วย เช่น ดาราศาสตร์ การทำน้ำประปา การทำปืน การพาณิชย์ แพทยศาสตร์ ตำรายา การก่อสร้าง ตำราอาหาร เป็นต้น

(3)ด้านอักษรศาสตร์ มีการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ มีวรรณคดีหลายเล่มที่เกิดขึ้น เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น อีกทั้งมีการสอนภาษาไทย บาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และจีน

(4)วิชาจริยศึกษา เน้นการศึกษาด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น เช่นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงกวดขันในเรื่องการศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาก มีการกำหนดให้ผู้ชายที่เข้ารับราชการทุกคนจะต้องเคยบวชเรียนมาแล้ว เกิดประเพณีการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้เสรีภาพไม่กีดกันศาสนา ทรงอุปถัมภ์พวกสอนศาสนา เพราะทรงเห็นว่าศาสนาทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดี

(5)วิชาพลศึกษา ยังคงเหมือนสมัยสุโขทัย

1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2411)

การศึกษาในสมัยนี้เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา บ้านและวัดยังคงมีบทบาทเหมือนเดิม การจัดการศึกษาในช่วงนี้ มีดังนี้
(1)สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นระยะเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า เน้นการทำนุบำรุงตำราทางศาสนา ศิลปะและวรรณคดี
(2)สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี มีการแต่งรามเกียรติได้เค้าโครงเรื่องมาจากอินเดียเรื่อง รามายณะ ศิลปะ กฎหมาย เช่น กฎหมายตรา3ดวง และหลักธรรมทางศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปิฎก
(3)สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เริ่มมีชาวยุโรปเช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อทางการค้ากับไทยใหม่ หลังจากเลิกราไปเมื่อประมาณปลายสมัยอยุธยา และชาติอื่น ๆ ตามเข้ามาอีกมากมาย เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา เป็นต้น เนื่องจากยุโรปมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้มือมาใช้เครื่องจักร พลังงานจากไอน้ำสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นจึงต้องหาแหล่งระบายสินค้า ในสมัยนี้ได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ มีการตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ให้การศึกษา
(4)สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาเป็นพิเศษ มีการจารึกวิชาความรู้สามัญและวิชาชีพลงในแผ่นศิลาประดับไว้ตามระเบียงวัดพระเชตุพนจนมีผู้กล่าวว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย มีการใช้หนังสือไทยชื่อ ประถม ก กา และประถมมาลา นับเป็นแบบเรียนเล่มที่ 2 และ 3 ต่อจากจินดามณีของพระโหราธิบดี ต่อมานายแพทย์ ดี บี บรัดเลย์ได้นำกิจการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การผ่าตัดเข้ามารักษาคนไข้และการตั้งโรงพิมพ์หนังสือไทยเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2379 โดยรับจ้างพิมพ์เอกสารทางราชการเรื่องห้ามสูบฝิ่น จำนวน 9,000 ฉบับ เมื่อปีพ.ศ. 2382
(5)สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ชาวยุโรป และอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและสอนศาสนา มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น และพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงทรงจ้างนางแอนนา เอช เลียวโนเวนส์ มาสอนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อ พ.ศ. 2405 จนรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ลักษณะการจัดการศึกษาเป็นแบบเดิมทั้งวัดและบ้าน ในส่วนวิชาชีพและวิชาสามัญ มีอักษรศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาหรือวิทยาศาสตร์การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 2411 ) ยังเน้นการจัดการศึกษาที่วัดและบ้าน โดยมีหลักสูตรเกี่ยวกับการอ่านและเขียนภาษาไทยทั้งในด้านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์จากอาศัยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา มาจนกระทั่งในสมัยพระนารายณ์มหาราชเริ่มใช้หนังสือจินดามณีเล่มแรก ต่อมามีประถม ก กา และประถมมาลา ส่วนครูผู้สอนได้แก่ พระภิกษุ นักปราชญ์ราชบัณฑิต พ่อแม่ ช่างวิชาชีพต่างๆ สำหรับการวัดผลไม่มีแบบแผนแต่มักจะเน้นความจำและความสามารถในการประกอบอาชีพจึงจะได้รับการยกย่องและได้รับราชการ


สรุป

การศึกษานับว่าเป็นส่วนสำคัญต่อคนไทยและคนทั่วโลกเนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น คนในประเทศจะได้รับการศึกษา และเราจะเห็นได้ว่าประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนานั้นการศึกษายังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่จากรัฐบาลของประเทศนั้น ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันการศึกษายังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่แต่ถ้าประเทศของเราได้รับการพัฒนาซักวันหนึ่งอาจจะ ทัดเทียมมหาอำนาจของโลกก็เป็นได้